วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การต่อลำโพงแบบต่างๆ

                   

การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียง
 



                 เครื่องขยายเสียงจะมีจุดต่อสัญญาณออก อยู่ด้านหลังของเครื่องฯ อาจมีหลายลักษณะ แต่ลักษณะหนึ่งที่นิยม ใช้จะเป็นลักษณะที่มี จำนวน โอห์ม มาให้เลือกต่อ เพื่อความเหมาะสม ระหว่างตัวลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงอาจแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การต่อลำโพงตัวเดียว และการต่อลำโพงหลายตัว

การต่อลำโพงตัวเดียว
           การต่อลำโพงตัวเดียวเป็นการต่อตรง เช่น ลำโพงมีค่าความต้านทาน 8 โอห์ม ก็ให้ต่อสายเส้นหนึ่งของลำโพงเข้ากับ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 8 โอห์ม


การต่อลำโพงหลายตัว
           การต่อลำโพงหลายตัวกับเครื่องขยายเสียงอาจกระทำได้ 3 วิธี คือ
การต่อแบบอนุกรม การต่อแบบขนาน และการต่อแบบผสม
ซึ่งการต่อแต่ละแบบมีความจำเป็นต้องรู้จักคิดคำนวณค่า
ความต้านทานกับพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงที่ออกมาจากเครื่องขยายเสียง
ดังนี้
          1. การต่อแบบอนุกรม เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่หากมีลำโพงตัวหนึ่ง ตัวใดชำรุด
จะทำให้ลำโพง ทุกตัวเงียบหมด เนื่องจาก การตัดตัวเชื่อมต่อ ของวงอนุกรม นั่นเอง
สูตรในการคิดการต่อแบบอนุกรม คือ


หากมีลำโพง 3 ตัว คือ 8 , 8 , 16 จะคำนวณได้

การต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 32 โอห์ม


          2. การต่อแบบขนาน เป็นวิธีการต่อนิยมมาก เนื่องจากหากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งชำรุดตัวที่เหลือยังคงใช้งานได้ตามปกติ

 หากมีลำโพง 2 ตัว คือ 8 , 8 จะคำนวณได้
สูตรในการคิดการต่อแบบขนาน คือ
นำค่าของการต่อแบบอนุกรมมาคิดการต่อแบบขนานร่วมกับตัวที่เหลืออีกหนึ่งตัว

การต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 4 โอห์ม



          3. การต่อแบบผสม เป็นการใช้การต่อลำโพงแบบอนุกรมและแบบขนานร่วมกัน สำหรับสูตร ในการคิดคำนวณ ให้คิดค่า ของความต้านทาน ของการต่อลำโพงแบบอนุกรมก่อน แล้วจึงนำมาต่อลำโพงแบบขนาน เช่น มีลำโพง 3 ตัว สองตัวมีความต้านทานตัวละ 4 โอห์ม นำมาต่อแบบอนุกรม และ อีกตัวเป็น 8 โอห์ม นำมาต่อเข้ากับ สองตัวแรกแบบขนาน หาค่าความต้านทานว่า เป็นจำนวนทั้งสิ้นกี่โอห์ม
สูตรในการคิดการต่อแบบอนุกรม คือ  
หากมีลำโพง 2 ตัว คือ 4 , 4 จะคำนวณได้
สูตรในการคิดการต่อแบบขนาน คือ


นำค่าของการต่อแบบอนุกรมมาคิดการต่อแบบขนานร่วมกับตัวที่เหลืออีกหนึ่งตัว


ดังนั้นหลังจากคิดคำนวณได้จะต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 4 โอห์ม นั่นเอง

คอมแพคดิสก์
ความหมาย
          CD-ROM คือ วัสดุที่บันทึกข้อมูลทั้งที่เป็น ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง ในรูปแบบของพลาสติกทรงกลมแบนราบ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่เก็บไว้อย่างมากมาย ไปเปิดใช้ได้อย่างสะดวก CD-ROM ย่อมาจาก “Compact Disc-Read Only Memory“

คุณสมบัติ

คุณสมบัติของ CD-ROM
            ความจุข้อมูลมหาศาล ซึ่งสามารถเปรียบได้กับความจุของ หนังสือ 250,000 เล่ม ข้อความในกระดาษพิมพ์ดีด 300,000 แผ่น หนังสือสารานุกรม 1 ชุด จำนวน 24 เล่ม ภาพสี 5,000 ภาพ ข้อมูลในแผ่น Floppy disk 1.44 เมกกะไบต์ 460 แผ่น
บันทึกข้อมูลนานาประเภท
            ตัวอักษร ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก เสียงพูด เสียงดนตรี
การสืบค้นฉับไว
                การค้นหาข้อมูลใช้ลักษณะ “เข้าถึงโดยสุ่ม” (random access) ทำให้สามารถค้นหาได้โดยใช้เวลาเพียง 1 วินาที
มาตรฐานสากล
                CD-ROM มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ใช้กับหน่วยขับหรือเครื่องเล่น CD-ROM ทั่วๆ ไปได้เหมือนกัน
ราคาไม่แพง
                การที่มีผู้นิยมใช้ CD-ROM มากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ราคาต่ำลงจนสามารถหาซื้อได้อย่างแพร่หลาย
อายุการใช้งานนาน
            CD-ROM อาจอยู่ได้ตลอดไปโดยที่แผ่นจะไม่เกิดการเสียหาย แต่ก็มีบางคนกล่าวว่า น่าจะอยู่ได้เพียง 10-15 ปี เท่านั้น อาจเนื่องจากแผ่นต้องพบกับสภาพอากาศ ความสกปรก ความชื้น เป็นต้น
ความคงทนของข้อมูล
            เป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนจากสนามแม่เหล็ก และยังไม่ติดไวรัส เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไม่สามารถเขียนทับได้ ดังนั้นจึงทำให้ข้อมูลอยู่ได้ตลอดไปไม่เกิดความเสียหาย
ประหยัด
            เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่น เช่นแผ่น Floppy disk เมื่อคิดโดยรวมแล้ว แผ่น CD-ROM 1 แผ่นสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 460 แผ่น ดังนั้นเมื่อเทียบราคาแล้ว ทำให้ CD-ROM มีราคาที่ต่ำกว่าอย่างมาก
ความสะดวก
            CD-ROM มีขนาดเล็ก ทั้งยังมีบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ในที่ต่างๆ ได้จึงทำให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้ในที่ต่างๆ
ชั้นและการทำงานของแต่ละชั้น
          1. ชั้นป้องกันอันตราย (Protective Layer)
เป็นชั้นที่เคลือบด้วยอคริลิคแลคเกอร์เพื่อป้องกัน
ชั้นที่ทำหน้าที่สะท้อนข้อมูลไม่ให้มีรอยขีดข่วน
          2. ชั้นสะท้อนแสง (Reflective Layer)
ฉาบด้วยทองหรือเงินที่สะท้อนลำแสงเลเซอร์กลับไปที่เซ็นเซอร์
ของเครื่องอ่านในซีดี
          3. ชั้นสี (Dye Layer)
       เลเซอร์ที่ทำหน้าที่เขียนบันทึกของซีดีจะเผารอยขีดที่เป็นข้อมูล
ให้เกิดเป็นสี ทำให้เกิดรอยขีดของข้อมูลแบบไม่โปร่งใสซึ่งจะดูด
ซับแสงที่ปกติแล้วเป็นแสงที่จะถูสะท้อนกลับไปที่เซ็นเซอร์
ของเครื่องอ่านในซีดี
          4. ชั้นที่ทำหน้าที่นำทางแก่แสงเลเซอร์ (Clear Layer)

โพลีคาร์บอเนตชั้นล่างจะมีร่องขดเป็นวงกลมทำหน้าที่ช่วยนำทางแสงเลเซอร์
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น